วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

รายละเอียดของรายวิชา
รายละเอียดของรายวิชา  มคอ. 3
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา               มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะ/สาขาวิชา                     คณะศึกษาศาสตร์/สาขาการศึกษาปฐมวัย

หมวดที่ 1
ข้อมูลโดยทั่วไป

1.   รหัสและชื่อรายวิชา  
EAED 4209       การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย Parent Education for Early Childhood 
2.   จำนวนหน่วยกิต                
3 (3-0-6)
3.   หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
ครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกบังคับ
4.   อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
          ว่าที่ ร.ต. กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด    กลุ่ม 101,102
5.   ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษาที่ 1/2562 ชั้นปีที่ 3 
6.   รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
ไม่มี
7.   สถานที่เรียน          
          อาคาร 34 ห้อง 34-401 อาคารเรียนรวม  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
8.   วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
วันที่   21    เดือน  กรกฎาคม      พ.ศ.   2562


หมวดที่ 2
จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

1.    จุดมุ่งหมายของรายวิชา
หลังจากการศึกษารายวิชานี้แล้ว ผู้เรียนมีพฤติกรรมดังนี้
    1.1  ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1. มีความรู้ความเข้าใจในมโนทัศน์เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน ได้แก่ กัลยาณมิตรธรรม 7  และค่านิยมที่พึงประสงค์สำหรับการสร้างสรรค์สังคมแห่งความพอเพียงและยั่งยืน
2. แสดงออกทางด้านคุณธรรมจริยธรรม  เช่น  น่ารัก  น่าเคารพ  น่าเทิดทูน ฉลาดพูดแนะนำตักเตือน  อดทนต่อถ้อยคำ  แถลงเรื่องที่ลึกล้ำได้  ไม่ชักนำไปในสิ่งที่เสื่อม  ตรงต่อเวลา  มีวินัย และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3. มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ
4. ยอมรับในความแตกต่างที่หลากหลาย เคารพในสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและนำความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมพื้นฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครูและค่านิยมที่พึงประสงค์ไปปฏิบัติใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ เพื่อสร้างสรรค์สังคมแห่งความพอเพียง ยั่งยืน และมีสันติสุข
6. วิเคราะห์ผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ขาดคุณธรรมจริยธรรมต่อบุคคล องค์กรและสังคม
7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู

    1.2  ด้านความรู้
             1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฏี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
              2. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน และนำความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฏี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของผู้เรียน รูปแบบ และวิธีในการสื่อสาร การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
              3. ตระหนักถึงคุณค่าของการนำความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฏี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของผู้เรียน บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กปฐมวัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง
              4. มีความรู้ความเข้าใจและติดตามความก้าวหน้า ของแนวคิด ทฤษฏี และหลักการที่เกี่ยวข้องในศาสตร์ทางการศึกษา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้  การพัฒนาผู้เรียน และองค์ความรู้สำหรับผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กปฐมวัย  การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก                          5. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน และนำความรู้ที่ได้จากการทำโครงการความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียนและชุมชนเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
              6. ตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาข้อความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฏี และหลักการที่เกี่ยวข้องในศาสตร์ทางการศึกษา เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของวิถีการดำเนินชีวิตในรูปแบบใหม่ๆ
              7. สามารถบูรณาการความรู้ทางการศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



    1.3  ด้านทักษะทางปัญญา
             1.  สามารถคิดค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ และแนวคิดจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายเพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานสอนและงานครู รวมทั้งการวินิจฉัยผู้เรียน และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2.  สามารถคิดแก้ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ที่มีความสลับซับซ้อน เสนอทางออก และนำไปสู่การแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์
3.  มีความเป็นผู้นำทางปัญญาในการคิดพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และมีวิสัยทัศน์     
               4. ประยุกต์ใช้ความรู้ด้วยวิถีทางปัญญาในการดำรงชีวิต การประกอบวิชาชีพทางสาขาวิชาของตนได้อย่างเหมาะสม

    1.4  ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
             1.  มีความไวในการรับความรู้สึกของผู้เรียนด้วยความเข้าใจ และความรู้สึกเชิงบวกมีวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม                                             
              2.  มีความเอาใจใส่ มีส่วนช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ปัญหาความสัมพันธ์ในกลุ่มและระหว่างกลุ่มผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์
              3.  มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน ผู้ปกครอง เพื่อนร่วมงาน และชุมชน เป็นผู้นำและผู้ตามที่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

    1.5  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
             1.  มีความไวในการวิเคราะห์และเข้าใจข้อมูลสารสนเทศที่ได้รับจากผู้เรียนอย่างรวดเร็ว  ทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติหรือคณิตศาสตร์ ภาษาพูดหรือภาษาเขียน                                             
2.  มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจที่ดีในการประมวลผล แปลความหมาย และเลือกใช้ข้อมูล
      สารสนเทศเกี่ยวกับวิชาที่สอน และงานครูที่รับผิดชอบโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดี
3.  มีความสามารถในการสื่อสารกับผู้เรียน ผู้ปกครอง เพื่อนร่วมงานและชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งการพูด การเขียน และ การนำเสนอด้วยรูปแบบที่เหมาะสม

2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา / ปรับปรุงรายวิชา
                    1. เพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงคุณค่าความเป็นครูปฐมวัยที่เหมาะสม
                    2. มีการปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2559



หมวดที่ 3
ลักษณะและการดำเนินการ
คำอธิบายรายวิชา
                EAED4209      การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย                                                3(3-0-6)
                             Parent Education for Early Childhood
                            ความหมาย  ความสำคัญ  แนวคิด  หลักการ  และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กปฐมวัย วิธีการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง  องค์ความรู้สำหรับผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กปฐมวัย  การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การทำโครงการความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียนและชุมชนเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

2.  จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษา
-
ศึกษาด้วยตนเอง 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

3.จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

กิจกรรม
วัน/เวลา
สถานที่สำหรับนักศึกษาขอคำปรึกษา
นักศึกษาขอคำปรึกษา
หมายเหตุ
1. ศึกษาค้นคว้า
2. การนำเสนองานกลุ่มและงานเดี่ยว
3. โครงการให้ความรู้ผู้ปกครอง
4. อื่นๆ
จันทร์-ศุกร์
เวลา 09.00– 16.30 น.
- ห้องเรียน
- ห้องพักอาจารย์
-เป็นรายบุคคล
-เป็นรายกลุ่ม





หมวดที่ 4
การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

รายวิชา
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม
2. ด้านความรู้
3. ด้านทักษะทางปัญญา
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคล
และความรับผิดชอบ
5. ทักษะการวิเคราะห์
เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1
2
3
4
5
6
7
1
2
3
4
5
6
7
8
1
2
3
4
1
2
3
4
5
6
1
2
3
4
EAED3210 การให้การศึกษาแก่
ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜
˜

1. คุณธรรม จริยธรรม
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
          1. มีความรู้ความเข้าใจในมโนทัศน์เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน ได้แก่ กัลยาณมิตรธรรม 7  และค่านิยมที่พึงประสงค์สำหรับการสร้างสรรค์สังคมแห่งความพอเพียงและยั่งยืน
2. แสดงออกทางด้านคุณธรรมจริยธรรม  เช่น  น่ารัก  น่าเคารพ  น่าเทิดทูน ฉลาดพูดแนะนำ
ตักเตือน  อดทนต่อถ้อยคำ  แถลงเรื่องที่ลึกล้ำได้  ไม่ชักนำไปในสิ่งที่เสื่อม  ตรงต่อเวลา  มีวินัย และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3. มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ
4. ยอมรับในความแตกต่างที่หลากหลาย เคารพในสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและนำความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมพื้นฐานและจรรยาบรรณ
ของวิชาชีพครูและค่านิยมที่พึงประสงค์ไปปฏิบัติใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ เพื่อสร้างสรรค์สังคมแห่งความพอเพียง ยั่งยืน และมีสันติสุข
6. วิเคราะห์ผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ขาดคุณธรรมจริยธรรมต่อบุคคล องค์กรและ
สังคม
7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู
1.2  วิธีการสอน
กำหนดแนวการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ และสร้างระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนที่ตรงเวลาตามข้อกำหนด แต่งกายตามระเบียบปฏิบัติของมหาวิทยาลัย การจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาทำงานทั้งที่เป็นงานเดี่ยว งานกลุ่มย่อย และงานกลุ่มใหญ่ เพื่อนักศึกษาจะได้มีประสบการณ์ และฝึกการทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความซื่อสัตย์ ในตนเองทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ แสดงภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามในบทบาทสมาชิกกลุ่ม ในขณะที่ผู้สอนต้องสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการสอนทุกรายวิชารวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น ยกย่องชมเชยนักศึกษา ที่ทำความดี ทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มและต่อสังคมส่วนรวมด้วยความเสียสละ
1. การเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ และสะท้อนความคิดและการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและราย
กลุ่มสู่การเข้าใจตนเองผ่านการเขียนบันทึกการเรียนรู้ จากสถานการณ์จำลองหรือประสบการณ์ ภาพวาดสะท้อนความรู้สึก แผนภาพสะท้อน ความเข้าใจ และสุนทรียสนทนา
2. การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงทางสังคม เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การทำกิจกรรมกลุ่ม การ
จัดกิจกรรมจิตอาสา ค่ายอาสา หรือกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เป็นต้น
3. การเรียนรู้จากต้นแบบ เช่น ครูผู้สอน เพื่อน วิทยากร บุคคลตัวอย่างในสังคมหรือท้องถิ่น หรือ
บุคคลในประวัติศาสตร์
1.3 การประเมินผล
                   1. ประเมินจากการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน ตามกำหนดเวลาและการร่วมกิจกรรม
                    2. ประเมินจากการมีวินัยและความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของสาขาวิชาคณิตศาสตร์และกิจกรรมส่งเสริมความเป็นครู
                    3. ประเมินจาการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 
                    4. นักศึกษาประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ก่อนและหลังการเรียน
                   5. ผู้ใช้บัณฑิตประเมินคุณธรรมจริยธรรมบัณฑิตจากการปฏิบัติงาน

2  ด้านความรู้
          2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
             1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฏี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
              2. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน และนำความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฏี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของผู้เรียน รูปแบบ และวิธีในการสื่อสาร การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
              3. ตระหนักถึงคุณค่าของการนำความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฏี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของผู้เรียน บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กปฐมวัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง
              4. มีความรู้ความเข้าใจและติดตามความก้าวหน้า ของแนวคิด ทฤษฏี และหลักการที่เกี่ยวข้องในศาสตร์ทางการศึกษา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้  การพัฒนาผู้เรียน และองค์ความรู้สำหรับผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กปฐมวัย  การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก                          5. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน และนำความรู้ที่ได้จากการทำโครงการความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียนและชุมชนเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
              6. ตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาข้อความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฏี และหลักการที่เกี่ยวข้องในศาสตร์ทางการศึกษา เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของวิถีการดำเนินชีวิตในรูปแบบใหม่ๆ
              7. สามารถบูรณาการความรู้ทางการศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2)  วิธีการสอน
                   1. การให้ภาพรวมความรู้ก่อนเข้าสู่บทเรียน การสรุปย้ำความรู้ใหม่หลังการบทเรียนพร้อมกับเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม การเชื่อมโยงความรู้จากวิชาหนึ่งไปสู่อีกวิชาหนึ่งในระดับที่สูงขึ้น การเลือกใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ
                   2. ใช้การสอนหลายรูปแบบตามเนื้อหาสาระได้แก่ การบรรยาย การทบทวน การฝึกปฏิบัติการ การสัมมนาการจัดโครงการและเทคนิคการสอนอื่นๆที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                   3. การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในและนอกห้องเรียน เช่น การศึกษาดูงานแหล่งปฏิบัติที่ดี และที่เป็นเลิศ การรับรู้ข่าวสารจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศหรือจากสื่อมวลชนในรูปแบบต่างๆ การเรียนรู้ภูมิปัญญาจากคนในชุมชน
                   4. การเรียนรู้จากสถานการณ์จริงในสถานศึกษา จากวิทยากรภายนอกสถาบันในหัวข้อที่น่าสนใจ และทันสมัย
                   5. การเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิจัย เช่น การศึกษาค้นคว้าข้อมูลการทำโครงงาน            
2.3 วิธีการประเมินผล
                        1. นักศึกษาประเมินตนเอง ก่อนเรียนและหลังเรียน 
                    2. ทดสอบย่อย
                    3. สอบกลางภาคและปลายภาค  
                    4. นักศึกษาตรวจสอบความน่าเชื่อถือของการสรุปผลความเข้าใจแบบสามเส้า           
                    5. อาจารย์ประเมินความเข้าใจของนักศึกษาจากการสะท้อนความคิดของนักศึกษาในรูปแบบต่างๆ เช่น การนำเสนอปากเปล่า ผลงาน การแสดงออกระหว่างการทำงาน จากความคิดเห็นของเพื่อนนักศึกษาร่วมกันที่มีต่อผลงานของเพื่อน

3  ด้านทักษะทางปัญญา
          3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
             1.  สามารถคิดค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ และแนวคิดจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายเพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานสอนและงานครู รวมทั้งการวินิจฉัยผู้เรียน และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2.  สามารถคิดแก้ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ที่มีความสลับซับซ้อน เสนอทางออก และนำไปสู่การแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์
3.  มีความเป็นผู้นำทางปัญญาในการคิดพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และมีวิสัยทัศน์     
               4. ประยุกต์ใช้ความรู้ด้วยวิถีทางปัญญาในการดำรงชีวิต การประกอบวิชาชีพทางสาขาวิชาของตนได้อย่างเหมาะสมสังเคราะห์ สรุปประเด็นโดยใช้เครื่องมือการเรียนรู้ (Graphic Organizer)

3.2  วิธีการสอน
              1. การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เช่น กิจกรรมฝึกปฏิบัติ การฝึกทักษะ การแสดงบทบาทสมมติ การทดลองการศึกษานอกสถานที่ การสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน การสังเกตการสอน การสัมภาษณ์ หรือพูดคุยกับผู้มีประสบการณ์การสอนในชั้นเรียน
             2. การเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิจัย เช่น การศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้แบบต่างๆ และจากการใช้สื่อเทคโนโลยี การทำโครงงาน
             3. การเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณโดยจัดให้มีกิจกรรมในลักษณะต่างๆ เช่น การอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาในสถานการณ์จำลอง กิจกรรมการแก้ปัญหา กิจกรรมการวิเคราะห์จากการมองต่างมุม
3.3  วิธีการประเมินผล
          1. นักศึกษาประเมินกระบวนการพัฒนาความสามารถทางปัญญาของตนในแต่ละขั้นตอน เช่น การสังเกต การตั้งคำถาม การสืบค้น การคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การสะท้อนและสื่อความคิด
             2. อาจารย์ประเมินความสามารถทางปัญญาทั้งการคิดที่เป็นนามธรรมและการแสดงออกที่เป็นรูปธรรมในหลายรูปแบบ เช่น จากกระบวนการทำงานของนักศึกษา กระบวนการคิด การสื่อความคิดความเข้าใจ ความคิดสร้างสรรค์ของผลงาน การทดสอบ


4  ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
             1.  มีความไวในการรับความรู้สึกของผู้เรียนด้วยความเข้าใจ และความรู้สึกเชิงบวกมีวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม                                             
              2.  มีความเอาใจใส่ มีส่วนช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ปัญหาความสัมพันธ์ในกลุ่มและระหว่างกลุ่มผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์
              3.  มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน ผู้ปกครอง เพื่อนร่วมงาน และชุมชน เป็นผู้นำและผู้ตามที่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
4.2 วิธีการสอน
                     1. เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงจากการทำงานเป็นคู่ เป็นกลุ่มเล็ก หรือกลุ่มใหญ่เพื่อฝึกความรับผิดชอบ ทักษะการเป็นผู้นำผู้ตาม การสื่อสาร สร้างสังคมและสร้างสรรค์การยอมรับในความแตกต่าง    
                     2. เรียนรู้ผ่านกิจกรรมสะท้อนความคิด ความรู้สึกร่วมกับผู้อื่น
4.3 วิธีการประเมิน
        1. ความสามารถในการทำงานเป็นทีมที่บรรลุเป้าหมายร่วมกันภายใต้การเคารพความแตกต่างของความคิด บุคลิกภาพและลักษณะนิสัย
                   2. ความสามารถในการใช้ภาษาสื่อความคิดได้อย่างสร้างสรรค์และเกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างตนเองและผู้อื่น ทั้งภาษาท่าทาง ภาษาพูด ภาษาภาพ ภาษาเขียน ภาษาสัญลักษณ์

5  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
             1.  มีความไวในการวิเคราะห์และเข้าใจข้อมูลสารสนเทศที่ได้รับจากผู้เรียนอย่างรวดเร็ว  ทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติหรือคณิตศาสตร์ ภาษาพูดหรือภาษาเขียน                                             
2.  มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจที่ดีในการประมวลผล แปลความหมาย และเลือกใช้ข้อมูล
      สารสนเทศเกี่ยวกับวิชาที่สอน และงานครูที่รับผิดชอบโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดี
3.  มีความสามารถในการสื่อสารกับผู้เรียน ผู้ปกครอง เพื่อนร่วมงานและชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งการพูด การเขียน และ การนำเสนอด้วยรูปแบบที่เหมาะสม
5.2 วิธีการสอน
                   1. เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากการใช้เทคโนโลยี โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ การสื่อสารแบบ On-line การสรุปองค์ความรู้โดยใช้ (Graphic Organizer)  การสร้างแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายจาก Web  
             2. การเรียนรู้จากต้นแบบในการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร สืบค้น เช่น ผู้สอน เพื่อน วิทยากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ
5.3 วิธีการประเมิน
1. นักศึกษาสะท้อนความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็นผ่านเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ
             2. อาจารย์สังเกตพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีในระหว่างกระบวนการเรียนรู้ และจากผลของการสื่อความคิดและสื่อสารผ่านเทคโนโลยี


หมวดที่ 5
แผนการสอนและการประเมินผล

1. แผนการสอน
สัปดาห์ที่/คาบ
เนื้อหา
วิธีสอน/กิจกรรม
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
การมอบหมายงาน
ผู้สอน
1-2
เวลา 6 คาบ
- ปฐมนิเทศ แนะนำรายวิชา การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ความหมายความสำคัญ  ของผู้ปกครอง
- บรรยาย
- อภิปราย
- วิเคราะห์
- ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
- แนวการสอน
Course Syllabus
- เอกสารประกอบการสอน
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำด้วย โปรแกรม Power Point
งานกลุ่ม
- หางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง(นำเสนอ สัปดาห์ที่ 5)

อ.กฤตธ์ตฤณน์
 ตุ๊หมาด
3-5
เวลา 9 คาบ
- แนวคิด  หลักการ  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
- การสื่อสารกับผู้ปกครอง
- บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
- บรรยาย
- อภิปราย
- กิจกรรมกลุ่ม
- วิเคราะห์
- นำเสนองานวิจัย
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำด้วย โปรแกรม Power Point
- เอกสารประกอบการสอน
- งานวิจัย
งานเดี่ยว
- สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยและการประยุกต์ใช้
งานกลุ่ม
- สำรวจความต้องการของผู้ปกครอง

อ.กฤตธ์ตฤณน์
 ตุ๊หมาด

6-7
เวลา 9 คาบ
- วิธีการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองในสถานศึกษา ในชุมชน โดยบูรณา
งานวิจัยของกฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด. (2562) เรื่อง  การพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้ผู้ปกครองตาม  แนวทางการเล่นตามรอยพระยุคลบาทเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
- บรรยาย,อภิปราย
- สาธิต
- กิจกรรมกลุ่ม
- ผลิตสื่อ
- งานวิจัย เรื่อง  การพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้ผู้ปกครองตาม  แนวทางการเล่นตามรอยพระยุคลบาทเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำด้วย โปรแกรม Power Point
- เอกสารประกอบการสอน
- ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
- สื่อให้ความรู้ผู้ปกครอง
งานเดี่ยว
- ผลิตสื่อ อุปกรณ์ในการให้ความรู้ผู้ปกครอง
งานกลุ่ม
- นำเสนอตัวอย่าง,รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครอง


อ.กฤตธ์ตฤณน์
 ตุ๊หมาด
8
เวลา 3 คาบ
สอบกลางภาค
สัปดาห์ที่/คาบ
เนื้อหา
วิธีสอน/กิจกรรม
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
การมอบหมายงาน
ผู้สอน
9-10
เวลา 6 คาบ
- การทำโครงการความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียนและชุมชนเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
- บรรยาย
- อภิปราย
- กิจกรรมกลุ่ม
- ฝึกปฏิบัติ
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำด้วย โปรแกรม Power Point
- เอกสารประกอบการสอน
- สถานศึกษา
- ตัวอย่างโครงการ

งานกลุ่ม
- เขียนโครงการ
ให้ความรู้ผู้ปกครอง
- โครงการให้ความรู้ผู้ปกครอง

อ.กฤตธ์ตฤณน์
 ตุ๊หมาด

11-12
เวลา 6 คาบ
- องค์ความรู้สำหรับผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กปฐมวัย 
- บรรยาย
- อภิปราย
- สาธิต
- อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้
-  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำด้วย โปรแกรม Power Point
- เอกสารประกอบการสอน
- กรณีตัวอย่าง

-           
อ.กฤตธ์ตฤณน์
 ตุ๊หมาด

13-15
เวลา 9 คาบ
-          การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ และสังคม

- บรรยาย
- อภิปราย
- สาธิต
- อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- สรุปองค์ความรู้
- อภิปราย

-  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำด้วย โปรแกรม Power Point
- เอกสารประกอบการสอน
- แบบฝึกหัดท้ายบท

งานเดี่ยว
- แบบฝึกหัดท้ายคาบ

งานกลุ่ม
- นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ

อ.กฤตธ์ตฤณน์
 ตุ๊หมาด
16
สอปลายภาค










2 แผนการประเมินผลการเรียนรู้

กิจกรรมที่
ผลการเรียนรู้
วิธีการประเมิน
สัปดาห์ที่ประเมิน
สัดส่วนการประเมิน
1

 คุณธรรม จริยธรรม
- สังเกตพฤติกรรม
- บันทึกผลการสังเกตทุกครั้ง
ทุกสัปดาห์
10
2.

ความรู้
- ผลงานใช้วิธีไตร่ตรองสะท้อนตนเอง
 - ปฏิบัติผลจากสภาพจริง การลงมือปฏิบัติ
- การสอบระหว่างภาค
- การสอบปลายภาคโดยการจัดโครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
1-15



8
16
10

10

20
30
3.

ทักษะทางปัญญา
- สังเกตการณ์นำเสนอผลงาน
- การแสดงความคิดเห็น องค์ความรู้จากการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์
- การสอบระหว่างภาค
- การสอบปลายภาคโดยการจัดโครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
1-15




8
16
10

10


20
30
4.

ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
-สังเกตการณ์เก็บรวบรวมข้อมูล การส่งงานตรงเวลา
- สังเกตคุณภาพของงาน
- สะท้อนตนเอง

1-15

10
5.
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- สะท้อนตนเอง
- สังเกตพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี
- สังเกตพฤติกรรมการใช้ภาษา คำควบกล้ำ

ทุกครั้งที่มีการนำเสนอผลงาน

10
 หมายเหตุ : สัดส่วนการประเมินผลการเรียนรู้
         1. คุณธรรมจริยธรรม                            10 %
          2. ความรู้และปัญญา                            70 %
          3. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล         10 %
และความรับผิดชอบ
          4. ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข           10 %
การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



หมวดที่ 6
ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

เอกสารประกอบการสอน
กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด. 2558. การศึกษาปฐมวัย. เอกสารประกอบการสอน : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
วลีรัตน์  วงศ์ศรีชา. 2552. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการศึกษาสำหรับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย. วิทยาลัยชุมชน
มุกดาหาร
สุณี  บุญพิทักษ์. 2558. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย. คณะ
          ครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

งานวิจัย
กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด. (2562) การพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้ผู้ปกครองตามแนวทางการเล่นตามรอยพระยุคลบาทเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.


หมวดที่ 7
การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

1.      กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
1.1   ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
1.2   สะท้อนความคิดเห็นของนักศึกษาหลังการสอนทุกสัปดาห์
1.3   นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นในสัปดาห์สุดท้าย
2.      กลยุทธ์การประเมินการสอน
จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากคณาจารย์ผู้สอนปลายภาค
      3.   การปรับปรุงการสอน
3.1 นำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงการสอนและแนวการสอน
3.2 ค้นคว้าข้อมูลความรู้ใหม่ๆ และผลงานวิจัยมาใช้ในการสอน และการจัดกิจกรรม
          3.3 กลุ่มคณาจารย์อภิปราย สัมมนาเพื่อพัฒนารายวิชาให้มีสาระและการสอนที่เหมาะสมกับหลักสูตรระดับปฐมวัย และนำไปปฏิบัติได้จริงในสถานศึกษา
      4.   การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
4.1 ให้นักศึกษามีโอกาสได้รับทราบและตรวจสอบคะแนนและเกรดก่อนส่งให้สำนักทะเบียนและประมวลผล
4.2 ก่อนสอบกลางภาคและปลายภาคจัดประชุมผู้สอนเพื่อออกข้อสอบร่วมกันและพัฒนาข้อสอบให้ได้มาตรฐาน
4.3 จัดทวนสอบระดับรายวิชาและระดับสาขา โดยเชิญผู้ทรงมาทำการทวนสอย
      5.   การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
          นำผลที่ได้จากการสอบถามที่ได้จากความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษามาประชุมวิเคราะห์สรุปผลเพื่อพัฒนารายวิชาก่อนในภาคการศึกษาต่อไป